ธนาคารกรุงไทยประเมินค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์ ตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง เกาะติดการระบาดโอไมครอน นักลงทุนปรับพอร์ตลงทุน ปัจจัยกดดันเงินบาท
วันที่ 3 มกราคม 2565 นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า (วันที่ 4-7 มกราคม 65) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นภาพตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงได้บ้าง
นอกจากนี้ เงินบาทอาจได้แรงหนุนจากกระแสเงินทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้เคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) ขายทำกำไรราคาทองคำ หลังจากที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแตะแนวต้านสำคัญแถว 1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์
อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังคงเป็นปัญหาการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในประเทศที่ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องจับตาท่าทีของนักลงทุนต่างชาติว่าจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ไทย ทั้งหุ้นและบอนด์อย่างไรจากสถานการณ์การระบาดโอไมครอน
“เรามองว่า ผู้เล่นต่างชาติอาจไม่ได้กังวลปัญหาการระบาดมากนัก ดังจะเห็นได้จากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการซื้อหุ้นไทยสุทธิกว่า 1.69 หมื่นล้านบาท ขณะที่ฝั่งพันธบัตร (บอนด์) มีแรงเทขายไม่มากสุทธิราว 2,300 ล้านบาท”
ขณะที่ในส่วนข้อมูลเศรษฐกิจ ปัจจัยไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการทั่วโลก โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงาน ดัชนี PMI โดย ISM ซึ่งจะสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ดี
นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์ ผ่านรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ซึ่งมองว่า ภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มากที่สุดในปี 2565 หลังเงินเฟ้อได้ปรับตัวสูงขึ้น จนบรรลุเป้าหมายด้านเงินเฟ้อของเฟดเป็นที่เรียบร้อย
ส่วนในฝั่งไทย ตลาดจะติดตามรายงานเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม ซึ่งธนาคารมองว่า จะเห็นภาพเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน รวมถึงราคาอาหารสด ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศเช่นกัน